Wednesday, January 24, 2018

อันตรายจากการสวมแว่นตากันแดด (แว่นดำ) ไร้คุณภาพ


3.3.2


อันตรายจากการสวมแว่นตากันแดด (แว่นดำ) ไร้คุณภาพ
...จากการสังเกต...

          จากคำเตือนของผู้ใหญ่หลายท่านทั้ง High-Society  และ Low-Society  ได้บอกมาว่า แว่นตากันแดดไร้คุณภาพเมื่อใช้ไปนานๆจะทำให้สายตาเสียเร็วกว่าการไม่ได้สวมแว่นเสียอีก เพราะเลนส์ที่ไร้คุณภาพกรองแสง UV ไม่ได้จริง และที่สำคัญคือเราจะประมาทว่าเราสวมแว่นตากันแดดอยู่  จึงไม่หรี่ตา ไม่หยิบกระดาษขึ้นมาบังแดด บังดวงตาของเราอีกชั้น แสงจึงเข้าสู่นัยน์ตามากกว่าเดิม ซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตาโดยไม่รู้ตัว เป็นอันตรายกว่าการไม่ได้สวมแว่นตากันแดดเสียอีก

เปรียบเทียบแว่นตากันแดดไร้คุณภาพกับแว่นตากันแดดมีคุณภาพดี
          ผมเปรียบเทียบโดยทดลองสวมแว่นตากันแดดแล้วมองไปที่ 
          1. แสงไฟจากหลอดไฟในที่ร่ม (ให้ทดลองในบ้านหรือใน Office)
          2. แสงไฟจากหลอดไฟในที่แจ้ง
          3. แสงไฟจากหลอดไฟในที่มืด
          (เพื่อนๆลองทำตาม และลองคิดวิธีทดสอบอื่นๆ แชร์กันครับ)

พบว่า
          แว่นตากันแดดไร้คุณภาพไม่ได้กรองแสง UV หรือแสงใดๆได้เลย ความสว่างของแสงรอบหลอดไฟยังเท่าเดิม เพียงแต่สีเปลี่ยนไปเท่านั้น ทำให้นึกถึงไม้บรรทัดพลาสติกใสสีต่างๆ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ที่ตอนเด็กเราหยิบมันมาส่องเล่นกับหลอดไฟนั่นเอง
          ส่วนแว่นตากันแดดมีคุณภาพดีนั้น เมื่อสวมแล้วรู้สึกสบายตาขึ้น แสงนุ่ม (Soft) ขึ้น ความสว่างของแสงรอบหลอดไฟลดลง 
          เห็นได้ว่า การสวมแว่นตากันแดดไร้คุณภาพนั้นเป็นอันตรายต่อดวงตา เพราะแว่นตากันแดดไร้คุณภาพไม่ได้ช่วยลดปริมาณแสงหรือกรองรังสี UV ได้เลย เมื่อรวมกับความประมาทที่คิดว่าสวมแว่นตากันแดด (ไร้คุณภาพ) แล้ว จึงไม่ระวังรักษาดวงตาเหมือนปกติ ทั้งๆที่หากเราไม่ได้สวมแว่นตากันแดด ขณะนั้นเรายังหยิบกระดาษขึ้นมาบังแดด หรือไม่ก็หรี่ตา หรือ ไม่ก็หลับตาไปเลย

ข้อคิด
          1. ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญทำหน้าที่รับกระทบแสง ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้ ดวงตาไม่ใช่กล้องถ่ายรูป หรือ กล้องถ่ายวีดิโอที่หาซื้อใหม่กันได้ง่ายๆ
          2. ดูแลสุขภาพดวงตา ยืดอายุดวงตา เพื่อไว้ทำความดีช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อ่านหนังสือให้คนตาบอด ช่วยเหลือผู้อื่น จูงคนตาบอดข้ามถนน ฯลฯ
          3. จ่ายเงินเพื่อดูหนัง จ่ายเงินเพื่อเที่ยวเตร่หรือซื้อเสื้อผ้า เครื่องสำอาง กระเป๋าสตางค์ ยังจ่ายได้โดยไม่ต้องคิด  แล้วลงทุนจ่ายเงินเพื่อสุขภาพ หาอุปกรณ์ปกป้องดวงตาล่ะ?


ข้อมูลน่ารู้ เรื่องแว่นตา

ความคิดเห็นที่ 16
          แว่นกันแดด อันละ 99 ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกสีดำธรรมดา แต่แว่นกันแดดที่มียี่ห้อ เค้าจะใช้ โพลารอยด์ในการลดความเข้มของแสง
          วิธีทดสอบนั้น แต่ถ้าจำไม่ผิดใช้หลักการของการเรียงตัวของโมเลกุล ของพาลารอยด์ที่เป็นเส้นขนาน ในการทดสอบโดยการนำเลนส์ 2 ข้างมาซ้อนทับกันแล้วลองบิดเลนส์ไป 90 องศามั้ง ถ้าแสงที่ผ่านเลนส์ สว่างขึ้นหรือลดลง แสดงว่าเป็น โพลารอยด์ แต่ถ้าเป็นพลาสติกสีดำธรรมดา ความสว่างจะไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าจะบิด เลนส์ไปกี่องศาก็ตาม

ความคิดเห็นที่ 22
          แว่น 99 มักเป็นพลาสติค สีดำธรรมดา พอใส่แล้วจะทำให้-ม่านตาขยาย-เหมือนตอนเราอยู่ในที่มืดน่ะครับ คิดว่า "พอม่านตาขยาย ดวงตาก็เลยไม่มีอะไรมาป้องกันรังสีที่มากับแสงสว่าง แสงสว่างต่างๆก็เข้าตาเราโดยไม่มีอะไร มาป้องกันไว้ ซึ่งถ้าเป็นแว่น มีตระกูล มีคุณภาพของเลนส์ จะช่วยป้องกันตรงนี้ ช่วยถนอมดวงตาของเราได้

ความคิดเห็นที่ 25
          เคยถามร้านขายแว่น เขาบอกว่าแว่นดำที่ขายถูกๆ เขาไม่มีการเคลือบสารป้องกัน UV เอาไว้ ทีนี้พอเราใส่แว่นแบบนั้น มันลดปริมาณแสงในช่วงที่เรามองเห็นได้ก็จริง แต่มันไม่ได้ลดแสงในย่านอื่นโดยเฉพาะในย่าน UV ที่เป็นอันตรายพอม่านตาเราขยายเพราะแสงน้อย ก็กลับกลายเป็นว่าทำให้ UV เข้ามาทำอันตรายให้กับตาเรามากยิ่งขึ้น

ความคิดเห็นที่ 26
          ถูกอย่างที่ คห. 16 บอกครับ เอาเลนส์ 2 อันมาซ้อนกันแล้วค่อยๆหมุนเลนส์อันบนไป 90 องศา ขณะที่ยังซ้อนกันอยู่ ถ้าเป็นเลนส์โพลารอยด์แท้จะทึบแสงมองผ่านไม่ได้เลยครับ ผมเคยลองมาแล้วครับ
          เคยไปหาแว่นกันแดดที่คลองถม ถามคนขายว่าโพลารอยด์รึเปล่า เขาก็บอกว่าใช่ (เป็นยังงี้ทุกคน) ผมก็ทดสอบด้วยวิธีนี้ (พยายามอย่าให้คนขายเห็น) ผลก็คือ พลาสติกธรรมดาๆทั้งนั้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------


          มีเรื่องน่าคิดอีกเรื่องที่ว่า การจ้องพระอาทิตย์ หรือ การได้รับแสงอัลตราไวโอเลตเข้าตาเป็นเวลานานๆเป็นปัจจัยให้เกิดโรคต้อกระจกก่อนวัยได้  ดังนั้นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ควรพักสายตาเป็นระยะ และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อป้องกันโรคต้อกระจกก่อนวัย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความเสื่อมที่เราสร้างเองจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดปรกติ

Link อื่นๆ
- ศูนย์ตาธรรมศาสตร์ ==> http://www.TEC.IN.TH
- โรคต้อกระจก ==> โรคต้อกระจก



----------------------------------------------------------

No comments:

Post a Comment